วันอังคารที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

เทคโนโลยีการสื่อ

 บทความเทคโนโลยีการสื่อสาร  เรื่อง เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม



การสื่อสารโทรคมนาคม (Telecommunication) หมายถึง การติดต่อสื่อสารด้วยการรับส่งข้อมูลข่าวสารระหว่างตัวประมวลผล โดยผ่านสื่อกลางที่เชื่อมต้นทางและปลายทางที่ห่างกัน โดยใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หลายรูปแบบ ตามกฎเกณฑ์ หรือระเบียบวิธีการที่กำหนดขึ้นในแต่ละอุปกรณ์ 
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) หมายถึง การเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไป เพื่อขยายขีดความสามารถที่มีจำกัด ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูล หรือแบ่งปันทรัพยากรให้มีการใช้งานร่วมกัน   
โปรโตคอล (Protocol) หมายถึง ระเบียบวิธีการ มาตรฐาน หรือกฎเกณฑ์ในการติดต่อสื่อสาร ระหว่างกันของเครื่องมืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่าง ๆ หรือ วิธีที่ถูกกำหนดขึ้นเพื่อการสื่อสารข้อมูล ซึ่งผู้ส่งข้อมูลจะต้องส่งข้อมูลในรูปแบบตามวิธีการสื่อสารที่ตกลงไว้กับผู้รับข้อมูล จึงจะสามารถสื่อสารข้อมูลกันได้ 
อินเทอร์เน็ต (Internet) หมายถึง การเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน ตามโครงการของอาร์ป้าเน็ต (ARPAnet = Advanced Research Projects Agency Network) เป็นหน่วยงานสังกัดกระทรวงกลาโหมของสหรัฐ (U.S.Department of Defense - DoD) ถูกก่อตั้งเมื่อประมาณ ปีค.ศ.1960(พ.ศ.2503) และได้ถูกพัฒนาเรื่อยมา
          – ความหมายของการสื่อสาร การสื่อสารข้อมูล และโทรคมนาคม
          – แนวโน้มของการสื่อสารโทรคมนาคม (Telecommunication Trends) 
ความหมายของการสื่อสาร การสื่อสารข้อมูล และโทรคมนาคม
การสื่อสาร (Communication) หมายถึงการติดต่อระหว่างมนุษย์โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อนำเสนอหรือแลกเปลี่ยนข่าวสาร ข้อมูล ความต้องการ ความรู้สึกนึกคิด ตลอดจนความคิดเห็นให้รับรู้เรื่องราวร่วมกันและเกิดการตอบสนองระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสาร โดยอาศัยสื่อกลางในการติดต่อสื่อสาร
สื่อสารข้อมูล (Data Communication) หมายถึง การส่งหรือแลกเปลี่ยนข้อมูล และสารสนเทศ จากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง โดยผ่านช่องทางการสื่อสาร (Communication Channel) แต่ข้อมูลที่ส่งถึงกันนั้นจะเป็นเพียงข้อมูล (Data) เท่านั้นไม่รวมเสียงพูด (Voice)

 เนื่องจาก ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการสื่อสาร ทำให้มนุษย์ในปัจจุบันสามารถติดต่อสื่อสารถึงกันได้แม้ว่าจะอยู่ห่างไกลกัน แค่ไหนก็ตาม จึงก่อให้เกิดการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีนี้กับธุรกิจ เพื่อสร้างทางเลือกการตัดสินใจและอำนวยความสะดวกในการดำเนินธุรกิจมากยิ่ง ขึ้น  ดังนั้นผู้อ่านจึงควรทราบแนวโน้มที่เกิดขึ้นกับการสื่อสารโทรคมนาคม โดยแบ่งออกเป็น 3 ด้าน ได้แก่ แนวโน้มด้านอุตสาหกรรมการสื่อสาร แนวโน้มด้านเทคโนโลยีการสื่อสารและแนวโน้มด้านแอปพลิเคชั่นธุรกิจ
 โทรคมนาคม (Telecommunication)  หมายถึง การติดต่อสื่อสารระหว่างกันในระยะทางไกล ๆ โดยอาศัยช่องทางการสื่อสารเหมือนกับการสื่อสารข้อมูล แต่สามารถส่งได้ทั้งข้อมูล (Data) และเสียงพูด (Voice)

เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม ใช้ในการติดต่อสื่อสารรับ/ส่งข้อมูลจากที่ไกล ๆ เป็นการส่งของข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์หรือเครื่องมือที่อยู่ห่างไกลกัน ซึ่งจะช่วยให้การเผยแพร่ข้อมูลหรือสารสนเทศไปยังผู้ใช้ในแหล่งต่าง ๆ เป็นไปอย่างสะดวก รวดเร็ว ถูกต้อง ครบถ้วน และทันการณ์ ซึ่งรูปแบบของข้อมูลที่รับ/ส่งอาจเป็นตัวเลข (Numeric Data) ตัวอักษร (Text) ภาพ (Image) และเสียง (Voice)
เทคโนโลยีที่ใช้ในการสื่อสารหรือเผยแพร่สารสนเทศ ได้แก่ เทคโนโลยีที่ใช้ในระบบโทรคมนาคมทั้งชนิดมีสายและไร้สาย เช่น ระบบโทรศัพท์, โมเด็ม, แฟกซ์, โทรเลข, วิทยุกระจายเสียง, วิทยุโทรทัศน์ เคเบิ้ลใยแก้วนำแสง คลื่นไมโครเวฟ และดาวเทียม เป็นต้น
สำหรับกลไกหลักของการสื่อสารโทรคมนาคมมีองค์ประกอบพื้นฐาน 3 ส่วน ได้แก่ ต้นแหล่งของข้อความ (Source/Sender), สื่อกลางสำหรับการรับ/ส่งข้อความ (Medium), และส่วนรับข้อความ (Sink/Decoder) ดังแผนภาพต่อไปนี้ คือ
แผนภาพแสดงกลไกหลักของการสื่อสารโทรคมนาคม
นอกจากนี้ เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถจำแนกตามลักษณะการใช้งานได้เป็น 6 รูปแบบ ดังนี้ต่อไปนี้ คือ
1. เทคโนโลยีที่ใช้ในการเก็บข้อมูล เช่น ดาวเทียมถ่ายภาพทางอากาศ, กล้องดิจิทัล, กล้องถ่ายวีดีทัศน์, เครื่องเอกซเรย์ ฯลฯ
2. เทคโนโลยีที่ใช้ในการบันทึกข้อมูล จะเป็นสื่อบันทึกข้อมูลต่าง ๆ เช่น เทปแม่เหล็ก, จานแม่เหล็ก, จานแสงหรือจานเลเซอร์, บัตรเอทีเอ็ม ฯลฯ
3. เทคโนโลยีที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูล ได้แก่ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์
4. เทคโนโลยีที่ใช้ในการแสดงผลข้อมูล เช่น เครื่องพิมพ์, จอภาพ, พลอตเตอร์ ฯลฯ
5. เทคโนโลยีที่ใช้ในการจัดทำสำเนาเอกสาร เช่น เครื่องถ่ายเอกสาร, เครื่องถ่ายไมโครฟิล์ม
6. เทคโนโลยีสำหรับถ่ายทอดหรือสื่อสารข้อมูล ได้แก่ ระบบโทรคมนาคมต่าง ๆ เช่น โทรทัศน์, วิทยุกระจายเสียง, โทรเลข, เทเล็กซ์ และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั้งระยะใกล้และไกล
ลักษณะของข้อมูลหรือสารสนเทศที่ส่งผ่านระบบคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร ดังนี้
ข้อมูลหรือสารสนเทศที่ใช้กันอยู่ทั่วไปในระบบสื่อสาร เช่น ระบบโทรศัพท์ จะมีลักษณะของสัญญาณเป็นคลื่นแบบต่อเนื่องที่เราเรียกว่า "สัญญาณอนาลอก" แต่ในระบบคอมพิวเตอร์จะแตกต่างไป เพราะระบบคอมพิวเตอร์ใช้ระบบสัญญาณไฟฟ้าสูงต่ำสลับกัน เป็นสัญญาณที่ไม่ต่อเนื่อง เรียกว่า "สัญญาณดิจิตอล" ซึ่งข้อมูลเหล่านั้นจะส่งผ่านสายโทรศัพท์ เมื่อเราต้องการส่งข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังเครื่องอื่น ๆ ผ่านระบบโทรศัพท์ ก็ต้องอาศัยอุปกรณ์ช่วยแปลงสัญญาณเสมอ ซึ่งมีชื่อเรียกว่า "โมเด็ม" (Modem)

ข้อดี

  • ต้นทุน : ระบบอนาล๊อกมีต้นทุนที่ถูกกว่าระบบ IP
  • ยืดหยุ่นกว่า : เนื่องจากว่ามีกล้องหลากหลายประเภทให้เลือกใช้ ตั้งแต่ระบบเล็กไปถึงระบบ ใหญ่ที่มีอินฟราเรดตั้งตั้งมาพร้อมกับกล้องทำให้มีตัวเลือกสำหรับการใช้งานประเภทต่าง ๆ ได้อย่าง เหมาะสม
  • ความเข้ากันได้ : ในระบบอนาล๊อก มีเพียงระบบ PAL และ NTSC เท่านั้น ทำให้สามารถ เลือกกล้องต่างยี่ห้อมารวมในระบบเดียวกันได้
  • ปัญหาน้อย : เนื่องจากว่าระบบอนาล็อกถูกพัฒนามามากจนแทบจะเรียกได้ว่า อยู่ในช่วง สุดท้ายของเทคโนโลยีของระบบอนาล๊อกแล้ว ทำให้ปัญหาต่างๆถูกแก้ไขไปจนหมด ปัญหาต่าง ๆ ของระบบอนาล็อก จึงเกิดขึ้นน้อยมาก
  • ช่างที่ทำการติดตั้งไม่ต้องมีความรู้ด้านเน็ตเวิร์ก ก็สามารถติดตั้งได้

ข้อเสีย

  • Function : ระบบอนาล๊อกไม่มีฟังชั่นเช่นเดียวกับที่กล้อง IP มี เว้นแต่กล้องอนา็๊ล็อกที่มี ราคาสูงมาก ๆ เท่านั้น
  • ความปลอดภัย : ระบบอนาล็อกมีความปลอดภัยน้อย เนื่องจากว่าไม่มีการเข้ารหัสของข้อมูล ไม่ว่าใครก็ สามารถดูภาพจากกล้องวงจรปิดได้
  • ระยะทาง : ไม่สามารถรองรับการส่งสัญญานในระยะไกล ๆ ได้
  • ความละเอียดของภาพที่ได้ไม่มาก เนื่องจากระบบ Analog ไม่สามารถส่งภาพที่มีความ ละเอียดสูงได้ เนื่องจากข้อจำกัดทางด้านสาย





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สมาชิกการจัดการ 60 ห้อง B

สมาชิกในชั้นเรียน อาจารย์ ธภัทร ชัยชูโชค   อาจารย์ปาล์ม เกียรติศักดิ์  เกตุอักษร                     ไฟท์ นายจรณะ  แท่งทอง        ...